ปรับมาตรการการรับมือกับโควิด - 19 สายพันธุ์โอมิครอน

การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ศบค.) เห็นชอบปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ ทั่วราชอาณาจักร
• พื้นที่ควบคุม หรือพื้นที่ สีส้ม ปรับเป็น 69 จังหวัด (จากเดิม 36 จังหวัด)
ขอนแก่น จันทบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง เลย สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชุมพร ชัยนาท ชัยภูมิ ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน ปราจีนบุรี ปัตตานี บึงกาฬ พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และ อุบลราชธานี
• พื้นที่เฝ้าระวังสูง หรือพื้นที่สีเหลือง ปรับเหลือ 0 จังหวัด (จากเดิม 30 จังหวัด)
• พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว (สีฟ้า) 8 จังหวัด กทม. กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงา ภูเก็ต และบางพื้นที่ 18 จังหวัด

สำหรับข้อปฏิบัติในแต่ละพื้นที่
พื้นที่สีส้ม
• ไม่มีข้อกำหนดเคอร์ฟิว ให้ทำงานที่บ้านตามความเหมาะสม ซึ่ง ศบค.ขอให้ดำเนินการถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 500 คน สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติภายใต้มาตรการป้องกันโรค
• กิจการกิจกรรมที่สามารถเปิดบริการได้ตามปกติ ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กพิเศษ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ร้านสะดวกซื้อ ตลาด ตลาดนัด ร้านเสริมสวยร้านสัก สถานเสริมความงาม สถานบริการเพื่อสุขภาพ นวด สปา โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ และการแสดงพื้นบ้าน
• ร้านอาหารทั้งในและนอกห้างสรรพสินค้า เปิดได้แต่ห้ามบริโภคสุราในร้านอาหาร , ศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม คนร่วมงานไม่เกิน 1 พันคน
• สนามกีฬาแข่งกีฬา ให้จำกัดผู้ชมในร่มไม่เกิน 50% กลางแจ้งไม่เกิน 75%
พื้นที่สีฟ้า
• สามารถดำเนินการทุกอย่างได้ โดยร้านอาหารสามารถนั่งดื่มแอลในร้านได้ถึงเวลา 21.00 น.และต้องเป็นร้านอาหารที่ผ่าน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2 Plus เท่านั้น พร้อมทั้งขอให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ตรวจสอบการดำเนินงานของกิจการ หากไม่ทำตามมาตรการให้ดำเนินเอาผิดอย่างเต็มที่

มาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19
1.ขยายระยะเวลา work from home ออกไปอีก 14 วัน ( จากเดิม 1 – 14 มกราคม เพิ่มเป็น 15 มกราคม – 31 มกราคม 2565 ) แต่ต้องไม่กระทบต่อบริการประชาชน และการดำเนินงานขององค์กร
2. ตรวจ ATK ก่อนเข้าทำงาน หรือ ก่อนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับผู้อื่น

มาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
1. ยกเลิกการกำหนดกลุ่มประเทศเสี่ยงในการเข้าราชอาณาจักร คือ ประเทศในทวีปแอฟริกาทั้งหมด (รวม 8 ประเทศในทวีปแอฟริกา) สามารถเข้ามาได้เหมือนประเทศอื่น ๆ แต่ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดแต่ละรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565
2. เปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว 3 จังหวัด/พื้นที่ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพงัน เกาะเต่า) พังงา และกระบี่ (ทั้งจังหวัด) ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2565 โดยผู้เดินทางต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด (ค่าที่พัก 7 วัน และค่าตรวจ RT-PCR จำนวน 2 ครั้ง)
3. ระงับการลงทะเบียนเข้าราชอาณาจักรในรูปแบบ Test and Go ออกไปก่อน
4. ระงับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรในรูปแบบ Test & Go ส่วนผู้ที่ได้รับอนุมัติแล้ว ให้เข้าได้ตามวัน และ เวลา ที่ได้รับอนุญาต หรือจนกว่าจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีการประชุมสรุปความชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 15 มกราคม 2565 นี้

อาการผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอน
• ร้อยละ 48 ไม่มีอาการ
• ไอ ร้อยละ 54
• เจ็บคอ ร้อยละ 37
• ไข้ ร้อยละ 29
เน้นการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) และชุมชน (Commuity Isolation) เป็นหลัก การนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบรักษาพยาบาลมี 3 แบบ
1. ไปตรวจที่โรงพยาบาล (รพ.)
2. ตรวจที่หน่วยบริการเชิงรุก ซึ่ง 2 แบบนี้หากผลตรวจเป็นบวก ไม่ต้องติดต่อสายด่วน 1330 โดยหน่วยตรวจจะดำเนินการให้
3. การตรวจ ATK ด้วยตนเอง หากผลเป็นบวก ให้โทร.1330 ช่องทางที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

แผนรับมือโควิด – 19
1. มาตรการสาธารณสุข ใช้แนวทางการชะลอการระบาด เพื่อให้ระบบสาธารณสุขดูแลทุกคนได้ เพิ่มวัคซีนเข็มที่ 3 หรือเข็มที่ 4 ยืนยันว่า วัคซีนมีคุณภาพและมีความเพียงพอ ตรวจ ATK จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนตรวจคัดกรองตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจที่คลินิก สถานพยาบาลได้ และติดตามเฝ้าระวังการกลายพันธุ์
2. มาตรการการแพทย์ เนื่องจากโรคไม่มีความรุนแรง จึงเน้นการดูแลมาใช้แบบแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) และศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation) โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เราต้องดูแลตัวเองจากที่บ้านได้ ถ้าเรายังต้องอยู่ในสถานพยาบาล ก็ยังเป็นโรคที่มีความร้ายแรง แต่ปัจจุบัน ถ้าโรคไม่แรง ก็ดูแลจาก ที่บ้านได้
3. มาตรการสังคม ประชาชนยึดหลักป้องกันตัวเองสูงสุด (Universal Prevention) เลี่ยงการเข้าสถานที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเคร่งครัดให้สถานบริการปลอดโควิด-19 (Covid free setting)
4. มาตรการสนับสนุน ด้านค่ารักษาพยาบาลและการตรวจหาเชื้อ

เกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล
1. ไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส มากกว่า 24 ชั่วโมง
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที (ผู้ใหญ่)
3. ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า ร้อยละ 94
4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง กลุ่ม 608 ที่มีความเสี่ยง หรือผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดตามดุลยพินิจของแพทย์
5. สำหรับในเด็ก อาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนม หรือรับประทานอาหารได้น้อยล

กรณีผลตรวจ ATK เป็นลบ แต่ยังมีอาการทางเดินหายใจ ให้ตรวจ ATK อีกครั้ง หากผลยังเป็นลบอยู่และมีอาการมาก ก็ให้ไปตรวจซ้ำที่คลินิกไข้หวัด รพ.ใกล้บ้าน แต่หากผลลบ ไม่มีอาการ เป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงต่ำก็เน้นการป้องกันตนเอง ถ้าเป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงให้กักตัวเอง

เตรียมพร้อมรักษาผู้ป่วยโควิดเด็ก 5 - 11 ปี ไม่ได้ฉีดวัคซีน
1. เตรียมยาน้ำ Favipiravir
2. เตรียมเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา เช่น หน้ากากอนามัยเด็ก
3. Community Isolation ผู้ป่วยเด็กต้องมีผู้ปกครองดูแล
อย่างน้อยโซนละ 1 แห่ง และจัดระบบส่งต่อเมื่ออาการรุนแรง
4. เตรียมเตียงระดับ 3 ใน รพ. สำหรับเด็กที่มีอาการรุนแรงมาก เบื้องต้น 100 เตียง
สำหรับความพร้อมในการรองรับผู้ติดเชื้อ ในปัจจุบัน ทั่วประเทศไทยมีอัตราการครองเตียงอยู่ที่ 178,139 เตียง โดยอัตราการครองเตียงสีเหลือง และแดงลดลง ในขณะที่เตียงสีเขียวมีอัตราการครองเตียงที่มากขึ้น ทั้งนี้ การขยายโรงพยาบาลสนามช่วงนี้ยังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากจะให้ใช้ "HI & CI First" เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยอาการหนักได้อย่างทั่วถึง


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar