เตรียมการรับภัยแล้ง ไทยจะเข้าสู่ฤดูแล้ง วันที่ 1 พ.ย. 66

          กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช. ) ชี้น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่ม แต่ยังมีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วกว่า 7,000 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) 
เร่งเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปัจจุบันใกล้สิ้นสุดฤดูฝนและเข่าหน้าแล้งอย่างเป็นทางการวันที่ 1 พ.ย.66 แล้ว โดยใช้มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 66/67 ในขณะที่จังหวัดอุบลราชธานี มีการสั่งเคลื่อนย้ายอพยพบางชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมแล้ว 
          จากที่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกมากในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือบางส่วน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่ โดยปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้น จ.ร้อยเอ็ด ที่คาดว่าระดับน้ำในลำน้ำยัง จะกลับสู่ระดับตลิ่งภายใน 7 วันนี้ โดยจากปริมาณฝนตกส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 6-12 ก.ย. 66 รวมกว่าสองพัน ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แต่แม้ปริมาณน้ำของแหล่งน้ำทั่วประเทศยังมีไม่มากนัก โดยมีปริมาณน้ำ เกือบห้าหมื่นล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 57% ของความจุ ซึ่งน้อยกว่าปริมาณน้ำในปีที่แล้วอยู่กว่า เจ็ดพันล้าน ลบ.ม. โดยขณะนี้ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้สภาวะเอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนตกน้อย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ มีเพียงบางพื้นที่เท่านั้นที่มีฝนมากกว่าค่าปกติเล็กน้อย เช่นภาคอีสานตอนล่าง บริเวณ จ.อุบลราชธานี ภาคตะวันตก บริเวณ จ.กาญจนบุรี พื้นที่บางส่วนของภาคใต้ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมยังคงมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติอยู่ 16% และมีแหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 10 แห่ง 
          สำหรับสภาพอากาศ ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน บน ในขณะที่พายุดีเปรสชั่นซึ่งอยู่ทางฝั่งของประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันยังอยู่ห่างจากประเทศไทยจึงไม่มีผลกระทบในส่วนของปริมาณฝน โดยจากการคาดการณ์ฝนล่วงหน้า วันที่ 13-14 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคอีสานอและภาคตะวันตก วันที่ 15 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก วันที่ 16-18 ก.ย. 66 ปริมาณฝนจะลดลงตามลำดับ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลฝนเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ขณะนี้ยังไม่พบว่าอยู่ในระดับที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชน  โดยสภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 13 - 14 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในพื้นที่ภาคอีสานและภาคตะวันตก วันที่ 15 ก.ย. 66 จะมีฝนตกมากในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก และวันที่ 16 - 18 ก.ย. 66 ปริมาณฝนจะลดลงตามลำดับ
          โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลฝนเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ขณะนี้ยังไม่พบว่าอยู่ในระดับที่จะเกิดผลกระทบต่อประชาชน แต่คาดว่าจากปริมาณฝนตกจะช่วยให้มีน้ำไหลเข้าอ่างฯใหญ่สะสมเพิ่มอีกกว่าสองพันสี่ร้อยล้าน ลบ.ม. ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนที่ยังคงมีไม่มากนัก กอนช. ชี้ฝนตกส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพิ่ม แต่ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศยังน้อยกว่าเมื่อปี 65 อยู่กว่าเจ็ดพันล้านลูกบาศก์เมตร 
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 14 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.  ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคอีสาน  ภาคกลาง และภาคตะวันออก ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาดกว่าสี่หมื่นหกพันล้าน ลบ.ม. (57%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่กว่าสี่หมื่นสองพันล้าน ลบ.ม. (59%)  พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปางและตาก ภาคอีสาน จ.หนองคาย ยโสธร อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และบึงกาฬ ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
          และจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกมากในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคอีสานและภาคเหนือบางส่วน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในบางพื้นที่โดยปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว ยกเว้น จ.ร้อยเอ็ด ที่คาดว่าระดับน้ำในลำน้ำยัง จะกลับสู่ระดับตลิ่งภายใน 7 วันนี้ จากปริมาณฝนตกส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้นแต่ยังคงน้อยกว่าปริมาณน้ำในปีที่แล้ว 
          สำนักงานชลประทานที่ 7 ระบุ สถานการณ์น้ำปัจุบัน ณ วันที่ 14 กันยายน 2566  ระดับน้ำ ณ สถานีวัดน้ำท่า M.7  (สะพานเสรีประชาธิปไตย) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ที่ +110.69 ม.รทก. ปริมาณน้ำไหลอัตราประมาณกว่าหนึ่งพันหกร้อย ลบ.ม./วินาที  อยู่ในเกณฑ์ปกติ
          ขณะนี้ที่จังหวัดอุบลฯ เริ่มมีน้ำท่วมแล้ว มีการเคลื่อนย้ายอพยพประชาชนผู้ที่อยู่ในที่ลุ่มต่ำ ชุมชนวังแดงและชุมชนวัดบูรพา 2 ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราวบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ สวนสาธารณะห้วยม่วง  โดยใน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566  ทางจังหวัดเคลื่อนย้ายอพยพประชาชนขึ้นสู่ที่สูง ซึ่งระดับน้ำมูล ณ วันที่ 13 กันยายน 2566 วัดระดับที่สถานี M 7 สะพานเสรีประชาธิปไตย วัดได้ 110.33 ม.รทก.ชุมชนที่อยู่ในที่ลุ่มต่ำเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบ 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเข็ญ จะมะมหาราช 1 (ชุมชนวังแดง) อพยพเคลื่อนย้าย จำนวน 5 ครัวเรือน และชุมชนวัดบูรพา 2 อพยพเคลื่อนย้าย จำนวน 2 ครัวเรือน โดยได้บูรณาการปฏิบัติประกอบด้วยเทศบาลนครอุบลราชธานี อพยพเคลื่อนย้ายและจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ สวนสาธารณะห้วยม่วง  ศูนย์ ปภ.เขต 13 อุบลราชธานีสนับสนุนเต้นท์มูลนิธิราชประนุเคราะห์ในพระบรมราชปถัมภ์ จำนวน 10 หลัง และ รถยกสูงเคลื่อนในการย้าย จำนวน 1 คัน  มทบ.22กำลังพล 5 นาย  กองบิน 21 กำลังพล 15 นาย พร้อมรถเคลื่อนย้าย 1 คัน โครงการชลประทานอุบลราชธานี นำกระสอบทรายวางเพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจร และอำเภอเมืองอุบลราชธานีร่วมประสานการปฏิบัติ
          สำหรับการเตรียมการรับมือสถานการณ์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เร่งเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปัจจุบันใกล้สิ้นสุดฤดูฝนแล้วประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูแล้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ย. 66  โดยได้มีการเตรียมมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67  รับสภาวะเอลนีโญเนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังคงอยู่ภายใต้สภาวะเอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนตกน้อย ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ฟังแล้วก็อย่ากังวลใจไป เพราะกอนช. มีการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง และมีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญของการใช้น้ำ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้เกษตรงดทำนาปีต่อเนื่อง และขอความร่วมมือประชาชนในการใช้น้ำอย่างประหยัดอีกด้วย ในขณะที่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เร่งเตรียมการล่วงหน้าเพื่อรับมือสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปัจจุบันใกล้สิ้นสุดฤดูฝนแล้ว โดยใช้มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 66/67 โดยมีการทบทวนมาตรการเดิมและเพิ่มเติมมาตรการใหม่ เป็นมาตรการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำรองรับสถานการณ์ฝนตกน้อยจากสภาวะเอลนีโญได้ดียิ่งขึ้นมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
 


image รูปภาพ
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar