กรมชลประทาน เผยปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ฝนลดลงปริมาณน้ำในเขื่อน น้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 42

          กรมชลประทาน จัดแผนบริหารจัดการน้ำช่วงปลายฤดูฝน คาดร่องมรสุมช่วยเติมน้ำเขื่อนหลัก ยืนยัน ช่วงหน้าแล้งมีน้ำใช้การเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค ภาคการเกษตร และรักษาระบบนิเวศน์
ในขณะที่ สำนักงานชลประทานที่ 7  มีแผนการให้ความช่วยเหลือเครื่องจักร-เครื่องมือแล้ว 
          นายทวีศักดิ์ ธนะเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน  เปิดเผยว่า ได้จัดมาตรการบริหารจัดการน้ำในช่วงปลายฤดูฝนที่คาดว่าจะสิ้นสุดในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้  
โดยภาพรวมปริมาณน้ำประมาณใช้การล่าสุดอยู่ที่ 43,700 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ ร้อยละ 57 ซึ่งน้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ  6,000 ล้านลูกบาศก์เมตรเนื่องจากผลกระทบของปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้
ฝนลดลงกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 20  ปริมาณน้ำใน เขื่อนน้อยกว่าปีที่แล้วร้อยละ 42  โดยเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ที่  23,600 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปีนี้น้ำไหลเข้าเพียง 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลักที่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพียง 3,300 ล้านลูกบาศกเมตร ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 60
          ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณน้ำในเขื่อนกักเก็บน้ำทั้ง 35 แห่งปีนี้จะมีน้ำใช้การประมาณ 21,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  โดยลุ่มเจ้าพระยาจะมีน้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลักไม่เกิน 5 พันล้านลูกบาศก์เมตร  
คาดว่า ในช่วงปลายฤดูฝนที่มีร่องมรสุมพาดผ่านจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยาอีกประมาณ 40 ล้านลูกบากศ์เมตร
          รองอธิบดีชลประทาน กล่าวว่า จากภาพรวมน้ำใช้ในการในปีนี้ ยืนยันว่า ได้มีการจัดแผนบริหารจัดการน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค ภาคการเกษตร และรักษาระบบนิเวศน์  โดยเน้นกักเก็บน้ำทั้งแก้มลิง
คูคลอง และหนองน้ำทุกแห่ง  พร้อมกับประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมืองดปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่เขตนอกชลประทาน เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีมาตรการช่วยเหลือ
ส่งเสริมการประกอบอาชีพต่างๆ รวมถึงการจ้างแรงงานสำหรับเกษตรที่ไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปรังอีกด้วย
          ทั้งนี้ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น. ดังนี้ คือ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับ ปริมาณฝน

ตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ  จ.อุตรดิตถ์ (182) จ.อุบลราชธานี (177) จ.ลพบุรี (95) จ.ตราด (81) จ.ตรัง (77) จ.กาญจนบุรี (54)  ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 45,944 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 41,170 ล้าน ลบ.ม. (58%)   คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี  พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ 
ภาคอีสาน จ.บึงกาฬ ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง และพังงา โดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินก่อสร้างโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในพื้นที่อีสาน คือ  1.) บ.โนนศรีสวัสดิ์ ม.4 ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 2.) บ.โคกสำราญ ม.2 ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 3.) บ.พุทธรักษา ม.4 ต.เขาพระนอน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 4.) บ.สว่าง ม.4 ต.ห้วยเตย อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น 5.) บ.โคกสูง ม.3 ต.กระนวน อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น 6.) บ.วังทอง ม.7 ต.ห้วยเตย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม 7.) บ.ขามป้อม ม.1 
ต.นาข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
          สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่อีสานล่าง สำนักงานชลประทานที่ 7 (11 ก.ย.66) รายงานว่า ระดับน้ำที่แม่น้ำโขงตอนล่าง, แม่น้ำชีตอนล่าง และแม่น้ำมูลตอนล่าง มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น 
โดยสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ ที่เขื่อนสิรินธร อ.สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี  ปริมาณน้ำปัจจุบัน 1,575.09 ล้าน ลบ.ม ยังรับน้ำได้อีก 391.38 ล้าน ลบ.ม.ระดับน้ำ ถือว่าระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดกลาง   61 แห่ง ความจุน้ำรวมวันนี้ 366.63 ล้าน ลบ.ม. โดยทุกเขื่อนมีความมั่นคงแข็งแรงดี 
          สำหรับระดับน้ำที่แม่น้ำมูล วัดที่ถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำวันที่ 11 กันยายน เวลา 06.00 น. อยู่ที่ 109.70 ม.ทรก.เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 0.25 เมตร ต่ำกว่าปีที่แล้ว -2.38 เมตร อัตราการไหลของน้ำ 1135.00 ลบ.ม./วินาที โดยระดับตลิ่งฝั่งอำเภอวารินชำราบ เฉลี่ยอยู่ที่ +112.00 ม.ทรก. ระดับตลิ่งฝั่งอำเภอเมืองอุบลราชธานีเฉลี่ยอยู่ที่ +113.00 ม.ทรก. ทั้งนี้ ระดับน้ำสูงสุดของปี 2565 อยู่ที่ 116.51 ม.ทรก.ในวันที่ 12 ตุลาคม 2565
สำหรับสถานการณ์น้ำเขื่อนทดน้ำ 7 แห่ง:
     -เขื่อนปากมูล ระดับน้ำหน้าเขื่อน +98.72 ม.ทรก.ระดับน้ำท้ายเขื่อน + 98.15   ม.ทรก. ระบาย 1,501.04 ลบ.ม./วินาที 
     -เขื่อนยโสธร จุน้ำปัจจุบัน 80.06% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
     -เขื่อนธาตุน้อย จุน้ำปัจจุบัน 79.02% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
     -เขื่อนลำเซบาย อำนาจเจริญ จุน้ำปัจจุบัน 98.22% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
     -เขื่อนลำเซบาย อุบลราชธานี จุน้ำปัจจุบัน 107.92% มีแนวโน้มลดลง
     -เขื่อนลำเซบก จุน้ำปัจจุบัน 45.17% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
     -เขื่อนลำโดมใหญ่ จุน้ำปัจจุบัน 102.37% มีแนวโน้มลดลง
     สำหรับผลการเพาะปลูกในฤดูฝน ปี 2566 (1พ.ค.66 – 31 ต.ค.66)   1.มีการเพาะพืช คิดเป็น 100.08%  2. มีการปลูกข้าว คิดเป็น 100.08%  สำหรับปริมาณน้ำต้นทุนนั้น จากข้อมูล
สำนักงานชลประทานที่ 7  ณ วันที่ 11 กันยายน 2566 มีน้ำต้นทุน 512.26 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่มีความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร 234.41 ล้าน ลบ.ม. จากความต้องการน้ำทั้งหมด 362.52 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้  สำนักงานชลประทานที่ 7  มีแผนการให้ความช่วยเหลือเครื่องจักร-เครื่องมือ เป็นเครื่องสูบน้ำ 99 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ 15 คัน และเครื่องผลักดันน้ำ 100 เครื่อง 


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar