แหล่งน้ำทุกขนาดทั่วประเทศ เกิน50% เล็กน้อย เกษตรกรอีสานล่างเริ่มประสบภัยแล้ง

          ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ในขณะที่ กอนช. ประกาศ
เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 5-10 ก.ย. 6 6 ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด ทั่วประเทศจุ เกิน50% เล็กน้อย ในขณะที่อีสานล่าง เกษตรกรชาวอุบลราชธานี
เริ่มสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้  ไปติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำในภาพรวมของประเทศและในอีสานล่าง
         กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์สภาพอากาศและสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.ดังนี้:
+ ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
+ ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.อุตรดิตถ์ (203) จ.ตราด (105) จ.มุกดาหาร (92) จ.ยะลา (82)
    จ.ประจวบคีรีขันธ์ (49) จ.ลพบุรี (40)
+ ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,638 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 40,108 ล้าน ลบ.ม. (56%) 
+ กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 17/2566 ในช่วงวันที่ 5-10 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก แพร่ น่าน
   พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ มุกดาหาร นครพนม และนครราชสีมา ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา นครนายก
   ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ภาคกลาง จ.อุทัยธานี และกาญจนบุรี ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ระนอง และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ
   ริมแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา จ.น่าน
     สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่อีสานล่าง สำนักงานชลประทานที่ 7 (6 ก.ย.66) รายงานว่า ที่แม่น้ำโขงตอนล่างและ แม่น้ำมูลตอนล่างมีระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ แม่น้ำชีตอนล่าง
มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น และระดับแม่น้ำมูลที่สถานีวัดน้ำ M7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันระดับอยู่ที่ +108.75 ม.ทรก. คิดเป็น 53.57% ของความจุลำน้ำ
ถานการณ์ปกติ โดยสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ ที่เขื่อนสิรินธร อ.สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี  ปริมาณน้ำปัจจุบัน 1,463.96 ล้าน ลบ.ม ยังรับน้ำได้อีก 502.51 ล้าน ลบ.ม.ระดับน้ำ
ถือว่าระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดกลาง  61 แห่ง ความจุน้ำรวมวันนี้ 347.45 ล้าน ลบ.ม. โดยทุกเขื่อนมีความมั่นคงแข็งแรงดี 
สำหรับสถานการณ์น้ำเขื่อนทดน้ำ 7 แห่ง:
เขื่อนปากมูล ระดับน้ำหน้าเขื่อน +97.75  ม.ทรก..ระดับน้ำท้ายเขื่อน + 97.18 ม.ทรก. ระบาย 984.03  ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มลดลง
เขื่อนยโสธร จุน้ำปัจจุบัน 78.73%  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เขื่อนธาตุน้อย จุน้ำปัจจุบัน 81.24% มีแนวโน้มลดลง
เขื่อนลำเซบาย อำนาจเจริญ จุน้ำปัจจุบัน 81.24% มีแนวโน้มลดลง
เขื่อนลำเซบาย อุบลราชธานี จุน้ำปัจจุบัน 106.36% มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เขื่อนลำเซบก จุน้ำปัจจุบัน 42.51% มีแนวโน้มลดลง
เขื่อนลำโดมใหญ่ จุน้ำปัจจุบัน 88.80% มีแนวโน้มลดลง
     สำหรับผลการเพาะปลูกในฤดูฝน ปี 2566 (1พ.ค.66 – 31 ต.ค.66)   1.มีการเพาะพืช คิดเป็น 100.08%  2. มีการปลูกข้าว คิดเป็น 100.08% 
สำหรับปริมาณน้ำต้นทุนนั้น จากข้อมูล สำนักงานชลประทานที่ 7  ณ วันที่ 6 กันยายน 2566 มีน้ำต้นทุน 488.92 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่มีความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร 234.41
ล้าน ลบ.ม. จากความต้องการน้ำทั้งหมด 362.52 ล้าน ลบ.ม.ในส่วนของสำนักงานชลประทานที่ 7 วานนี้ (5 กันยายน 66) มีการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ
ที่บ้านหัวเห่ว (แห่งที่ 2) ตำบล โขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากระดับแม่น้ำมูลบริเวณสถานีสูบน้ำฯดังกล่างลดต่ำลงมาก ทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำไม่สามารถสูบน้ำ
มาใช้ประโยชน์ได้ โดยมีผู้แทนจากกองโรงฟ้าเขื่อนสิรินธน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อพิจารณาหาแนงทางให้ความช่วยเหลือต่อไป 
       จะเห็นได้ว่าเริ่มปลายฤดูฝน ประชาชนในพื้นที่เริ่มประสบกับภัยแล้งแล้ว ขอให้ประชาชนติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดจากแหล่งราชการ และมีการ
กักเก็บน้ำฝนสำรองไว้ใช้ในหน้าแล้ง  ตลอดจนช่วยกันประหยัดการใช้น้ำและใช้น้ำอย่างคุ้มค่าต่อไป
 


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar