สคร.9 นครราชสีมา เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในระยะนี้ มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูฝน

          สคร.9 นครราชสีมา เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในระยะนี้ มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูฝน มีภาชนะและแหล่งน้ำขังที่ยุงลายวางไข่เพิ่มขึ้น
จึงขอเน้นย้ำให้ชุมชนร่วมกันปฏิบัติตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค หากมีอาการป่วยไข้สูงเกิน 2 วัน สงสัยไข้เลือดออก ต้องไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด 
อย่าซื้อยากินเอง อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
         นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา กล่าวว่า กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามการดำเนินงานโรคไข้เลือดออก
อย่างต่อเนื่อง และเปิดประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (EOC) ร่วมกับเครือข่ายส่วนกลางและภูมิภาคทุกสัปดาห์ โดยย้ำให้ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ครอบคลุมในพื้นที่ 7 ร. ได้แก่
.โรงเรือน (บ้าน/อาคาร) 2.โรงเรียน/สถานศึกษา 3.โรงพยาบาล 4.โรงธรรม (วัด/มัสยิด/โบสถ์) 5.โรงแรม/รีสอร์ท 6.โรงงาน และ  7.ส่วนราชการ/องค์กรเอกชน
ซึ่งโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด นอนกางมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด ทายากันยุงหรือจุดยาไล่ยุง จัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ หรือลูกน้ำในภาชนะ
เพื่อตัดวงจรไม่ให้ลูกน้ำกลายเป็นยุงตัวเต็มวัย แต่ถ้าหากถูกยุงกัดแล้วมีอาการไข้สูงอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน ไข้ลดช้า ไม่มีน้ำมูก ไม่ไอ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค
        สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ในสัปดาห์ที่ 35 คือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31สิงหาคม 2566 ข้อมูลล่าสุด จาก  สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา
ระบุพบผู้ป่วยสะสมจำนวน 73,979 ราย มีผู้เสียชีวิต 76 ราย กลุ่มอายุ ที่ป่วยมากที่สุดคือ 15-24 ปี  รองลงมาคือ 10-14 ป และ 25-34 ป
        สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกสะสม ในเขตสุขภาพที่ 9 ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์) 9 ในสัปดาห์ที่ 35 คือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม
-  31 สิงหาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสมจำนวน 5,603 ราย อัตราป่วย 83.44 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 4 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.07 สามารถแยกสถานการณ์เป็นรายจังหวัด
ดังนี้
       1) จังหวัดสุรินทร์ พบผู้ป่วย 2,084 ราย อัตราป่วย 151.32 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
       2) จังหวัดนครราชสีมา พบผู้ป่วย 1,743 ราย อัตราป่วย 66.18 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
       3) จังหวัดชัยภูมิ พบผู้ป่วย 928 ราย อัตราป่วย 82.59 ต่อประชากรแสนคน
       4) จังหวัดบุรีรัมย์ พบผู้ป่วย 848 ราย อัตราป่วย 53.65 ต่อประชากรแสนคน
       มีผู้เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดคือ อายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ
        สำหรับในเขตสุขภาพที่ 10 (ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธรอำนาจเจริญ และมุกดาหาร) โดย กองโรคติดต่อนำโดยแมลง
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ระบุ เขตสุขภาพที่ 10 มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ
าก 13 เขต โดยมีจำนวนผู้ป่วยสะสม จำนวน 6,483 ราย อัตราป่วย 141.33 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.02 สามารถแยกสถานการณ์
เป็นรายจังหวัด ดังนี้
       1) จังหวัดอุบลราชธานี พบผู้ป่วย 3,520 ราย อัตราป่วย 188.48 ต่อประชากรแสนคน
       2) จังหวัดมุกดาหาร พบผู้ป่วย 603 ราย อัตราป่วย 171.70 ต่อประชากรแสนคน
       3) จังหวัดศรีสะเกษ พบผู้ป่วย 1,621 ราย อัตราป่วย 111.17 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย
       4) จังหวัดยโสธร พบผู้ป่วย 577 ราย อัตราป่วย 108.06 ต่อประชากรแสนคน
       5) จังหวัดอำนาจเจริญ พบผู้ป่วย 162 ราย อัตราป่วย 43.05 ต่อประชากรแสนคน
       กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุดคือ อายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี และ 0-4 ปี ตามลำดับ
        ทั้งนี้ นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน กล่าวต่อไปว่า ขอความร่วมมือประชาชนให้ช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค ได้แก่ เก็บบ้าน ให้สะอาด
ไม่ให้ยุงลายเข้ามาเกาะพัก เก็บภาชนะกักเก็บน้ำ ให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เก็บขยะ ภายในบริเวณบ้านและโรงเรียน ให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จะป้องกัน
โรคติดต่อนำโดยยุงลายได้ 3 โรคคือโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา หากประชาชนมีอาการไข้สูงลอย ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา หน้าแดง
กระหายน้ำ หรือมีจุดเลือดออกที่ลำตัว และแขน ขา ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง โดยเฉพาะยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโครฟีแนก แอสไพริน รวมถึงยาชุด
มีผลทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารและยากต่อการรักษา เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือรับประทานยาหรือเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลด หรือลดแล้วไข้กลับมาสูงอีก ควรรีบไปพบแพทย์       
หากยังมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422 หรือ ติดต่อหน่วยงานด้านสาธารณสุขใกล้บ้านของท่าน

แหล่งที่มาข้อมูล: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar