นายกรัฐมนตรีสั่งการ ทุกโครงการของรัฐประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้โครงการลงทุนของภาครัฐทุกโครงการให้ถือเป็นนโยบายโดยตรงของนายกรัฐมนตรี ทั้งโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการไฟฟ้าชุมชนหรือโครงการอื่นๆ เน้นให้ประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด
รวมถึงการดูแลรักษาการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งในที่ประชุมครม.ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ซึ่งรัฐบาลประสบความสำเร็จในการจัดที่ดินทำกินชุมชนให้กับประชาชน โดยเป้าหมายจำนวน 5.6 ล้านไร่ มีประชาชนได้รับการจัดสรรที่ดินแล้ว 69,368 ราย นอกจากนี้นายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปดูแลประชาชนที่ถูกดำเนินคดีให้ได้รับความเป็นธรรม แต่หากมีหลักฐานว่าจงใจบุกรุกที่ดินก็ให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
สำหรับโครงการนี้รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 เห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2557 ให้มีคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
โดย "มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม" ด้วยการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นกลุ่มหรือชุมชนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คทช.กำหนด ในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ครั้งที่ 1/2565

1. รับทราบผลการดําเนินงานของฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้แก่
• การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 5,566,576 ไร่ ทำให้ประชาชนได้รับการจัดที่ดิน แล้วจำนวน 69,368 ราย ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาอาชีพไปแล้ว 185 พื้นที่ 62 จังหวัด
• การพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐและการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ
• การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map)
• นโยบายแนวทางการบริหารจัดการที่ดิน อาทิ การจำแนกประเภทที่ดิน และการบริหารจัดการที่ดินของรัฐที่ประชาชนเข้าไปครอบครอง
• การกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิ
• การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่ดิน
• การบริหารงานของ สคทช. อาทิ การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการ
• บริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566 - 2570) การดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม การสร้างมูลค่าให้กับที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน (Big Rock) และการดำเนินงานโครงการพัฒนาตัวชี้วัดความสุขชุมชนมวลรวม (GROSS COMMUNITY HAPPINESS : GCH)
2. รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนชุมชนเมืองระนองจังหวัดระนอง และความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมธนารักษ์พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
3. เห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยมีประเด็นนโยบายสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่
• การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ
• การใช้ที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
• การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
• การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ เพื่อฝ่ายเลขานุการ จะได้นําเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีต่อไป
4. เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) และแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ ของกลุ่มจังหวัดที่ 2 จำนวน 11 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครสวรรค์ ระยอง(ยกเว้นกรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะ เสม็ด) ลพบุรี ศรีสะเกษ และจังหวัดสระบุรี โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมธนารักษ์ เร่งดำเนินการตามแนวทางต่อไ
5. เห็นชอบการจําแนกประเภทที่ดินจังหวัดนครพนม “ป่าดงเซกา” (หมายเลข 74) เนื้อที่ประมาณ 1,648 ไร่ ให้กรมธนารักษ์ไปดำเนินการและให้กรมพัฒนาที่ดินนําเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
6. เห็นชอบการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐพ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
7. เห็นชอบการแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในประเด็นการเพิ่มเติมองค์ประกอบเพื่อให้การดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จ.ภูเก็ต
ครม. อนุมัติโครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ซึ่งจะดำเนินการภายใต้รูปแบบคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เงินลงทุนเริ่มต้น 14,670.57 ล้านบาท ระยะทางรวม 3.98 กิโลเมตร อนุมัติค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง วงเงิน 5,792.24 ล้านบาท โดยคาดว่า กทพ. จะประกาศเชิญชวนเอกชน ในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนนี้ เริ่มก่อสร้างในปี 2566 และคาดว่าเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2570
โครงการก่อสร้างทางยกระดับ มีอุโมงค์อยู่ในช่วงกลาง ของแนวเส้นทาง ระยะทางรวม 3.98 กม. เป็นทางพิเศษ ขนาด 4 ช่องจราจรต่อทิศทาง มี จุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมกับ ถ.พระเมตตา ในพื้นที่ ต.ป่าตอง อ.กะทู้จนถึงจุดสิ้นสุดโครงการฯ ในพื้นที่ ต.กะทู้ อ.กะทู้ มีทางขึ้น - ลง 2 แห่ง และมีด่านเก็บค่าผ่านทางตั้งอยู่บริเวณ ต.กะทู้ 1 ด่าน
สำหรับรูปแบบการลงทุน เป็นลักษณะการร่วมลงทุน ระหว่าง รัฐและเอกชน (PPP) ใน รูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐรับผิดชอบ การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และภาคเอกชนรับผิดชอบงานส่วนที่เหลือทั้งหมด ได้แก่ การออกแบบ รายละเอียดและการก่อสร้าง และการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M)
เอกชนจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ลงทุนทั้งหมดให้แก่ภาครัฐก่อนเริ่ม ดำเนินงานพร้อมทั้งให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รายได้ค่าผ่านทาง ระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี
“โครงการทางพิเศษสายกะทู้ - ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต คาดการณ์จะใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ 5 ปี (พฤษภาคม 2565 - กรกฎาคม 2570)

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
1. เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศเป็นไปตามการสนับสนุนการพัฒนา จ.ภูเก็ต ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
2. มีเส้นทางในการสัญจรเพิ่มขึ้นระหว่างตัวเมืองฝั่งตะวันออก ของภูเก็ตไปยังหาดป่าตองให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว
3. ลดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้น เนื่องจาก สภาพเส้นทางที่ลาดชันและคดเคี้ยว และใช้เป็นเส้นทางอพยพ กรณีเกิดภัยพิบัติ (เช่น กรณีเกิดสึนามิ)

อนุมัติร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินบางแค-บางหว้า
ครม.อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในแขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานที่มีสิทธิเข้าไปสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กบริเวณคลองพระยาราชมนตรี ตั้งแต่ช่วงคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญ มีความกว้าง 60 เมตร ยาวประมาณ 1,600 เมตร (1.6 กิโลเมตร) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกามีกำหนดบังคับใช้ 4 ปี เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้บังคับใช้
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
1. เมื่อการขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนบริเวณคลองเสริมเหล็กคลองพระยาราชมนตรีช่วงจากคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญเสร็จแล้ว แก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม. และ ปริมณฑล
2. เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากคลองพระยาราชมนตรีและคลองภาษีเจริญ ลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย - คลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้วย


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar